Krukammi: การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี"เฉลิมพระเกียรติ" รายการ"ดาวอาสา"ช่อง ๙ อสมท.

Krukammi: การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี"เฉลิมพระเกียรติ" รายการ"ดาวอาสา"ช่อง ๙ อสมท.

การถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี"เฉลิมพระเกียรติ" รายการ"ดาวอาสา"ช่อง ๙ อสมท.

            ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ รายการ"ดาวอาสา"จากช่อง ๙ อสมท. ได้มาถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ เรื่อง "การสร้างฝายชลอน้ำ ที่ภูเขาสวนกวาง ที่ร่องน้ำบนภูเขาห่างจากส่วนบริการของสวนสัตว์เขาสวนกวางไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐  เมตร
กิจกรรมนี้ อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี เป็นเจ้าของพื้นที่ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต เขาสวนกวางในฐานะผู้ดูและพื้นที่ของชุมชน นักเรียน ครูจากโรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล และโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม การดำเนินการเสร็จสิ้นเวลา ประมาณบ่าย ๒ โมง เย็นการถ่ายทำครั้งนี้สำเร็จลงด้วยดีด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน ชุมชนได้ทำงานร่วมกัน มีความรัก ความเข้าใจกัน และมีเป้าหมายเดียวกันในการทำประโยชน์ให้ประเทศชาติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่อง"น้ำ" ซึ่งสนองพระราชดำริและพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้า ที่มีขึ้นในโอกาสที่สำคัญ หลายๆโอกาส (ดูภาพเพิ่มเติมได้จากสไลด์โชว์ ด้านขวามือ) ครูคำมี เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์จึงได้นำเสนอบทความนี้ ในฐานะที่กิจกรรมนี้เกิดขึ้นที่ภูเขาสวนกวาง  โอกาสหน้าพบกันใหม่ สวัสดีครับ...ครูคำมี

พื้นที่ชาหนวดฤาษี หินโพ่นเหม่น

            ด้านเหนือของ"ภูเขาสวนกวาง"มีพื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ ๕๐ ไร่ นับเป็นพื้นที่แปลกแตกต่างจากที่อื่นที่เคยไปสำรวจ ที่ว่าแปลกเพราะมีจุดเด่นที่ควรศึกษาอยู่ ๕ ประการ
       ประการที่ ๑ บนพื้นราบของผืนหินทรายจะมีหินทรายผิวขรุขระปรากฏอยู่ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า"หินหนามหน่อ"ซึ่งมีรูปร่างประหลาดทั้งขนาดเล้ดและขนาดใหญ่ บางก้อนทอดตัวนอนอยู่เหมือนไดโนเสาร์ บางก้อนปรากฏเป็นแท่นเหมือนบัลังก์ บางก้อนมีแง่งโผล่ออกมาเหมือนหัวพญานาค (ตามจินตนาการของเรา) ประการที่ ๒ มีพืชนิหนึ่งซึ่งปัจจุบันหายากมาก คือ "ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง" ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ จากการไปสำรวจครั้งสุดท้ายพบเห็นเพียงไม่กี่กอ คงมีใครคนหนึ่งขุดไปขาย จึงนับว่าพืชชนิดนี้ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงที่จะหายไปจากภูเขาสวนกวาง จะมีใครสักแรงไหมที่ลุกขึ้นมาพิทักษ์คุ้มครองช่วยพวกเรา
              ประการที่ ๓ มีพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่าด้านสมุนไพร และไม้ประดับตกแต่ง ชื่อที่ชาวบ้านเรียกทั่วไปคือ "ชาหนวดฤาษี" ทรวดทรงรูปร่างเหมือนต้นหลิว ใบมีขนาดเล็กเรียวสั้นเกาะกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแข็งแรง ไม่ผลิใบ เมือนำในมาต้มจะทำให้น้ำมีสีแดง และรสชาติฝาดนิด ๆ เหมือนรสชา แต่อร่อย(กว่า)
           ประการที่ ๔ เป็นพื้นที่ที่พืชชนิดออกดอกในช่วงปลายฝนต้นหนาวมีอยู่หลายชนิด ทั้งชมพูนุช สร้อยสุวรรณา  เอนอ้า หมอกบ่อเหือด เป็นต้น
ประการที่ ๕ เป็นที่ตั้งของถ้ำซ่อนสมบัติ มีหลายคนเคยพบเครื่องเงินทองถูกน้ำพัดพาออกมาจากถ้ำ กลุ่มถ้ำผาหินทรายบริเวณนั้นจึงถูกเรียกชื่อว่า"ถ้ำสมบัติ
       พื้นที่ที่นำเสนอ อยู่ห่างจากวัดตาดฟ้าประมาณ ๘๐๐  เมตร การเดินทาง ให้นำรถไปจอดไว้ที่ถ้ำกินรี แล้วเดินทางข้ามฝายไปเนเหนือ ระหว่างทางก็จะพบพืชแปลกๆหลายชนิดโดยเฉพาะ ตุ้นหมากหมุ่น จะออกดอกช่วงเดือนเมษายน ลูกแก่สุก
ประมาณออกพรรษา ลักษณะพิเศษ คือนำลูกของ"หม่น"มาคั่วให้สุก จะมีกลิ่นหอม รสชาติหวานมัน  พืชชนิดนี้ ผู้เขียน(ครูคำมี) เคยกินตั้งแต่เป็นเด็ก พึ่งมาได้ชิมอีกทีก็เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ซึ่งต้องมีการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
            พื่น้องครับ สิ่งที่บรรยายมา อะบายภาพที่เห็นด้วยตาเพียงน้อยนิด เพราะเราคงไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ จึงอยากเชิญชวนให้ไปพบด้วยตัวของท่านเอง


ลานหมาเห่าฟ้าผาแงบลม

               ปี ๒๕๔๔  ถือเป็นปีปฐมบทของการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติบนภูเขาสวนกวาง ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๔ คณะสำรวจประกอบด้วย นายอุดม ทาส่วย   นายสมใจ มณีวงศ์ นาย    สุมินทร์ นารถเหนือ นายจันทร์ วงษ์ชารู นายคเชนทร์ กองพิลา นายเซียประจันทร์ศรี นายสุรวุฒิ เรียงพะวา นางพรรณี ยศปัญญา  และผู้นำเส้นทาง พ่อทอง(คือไม่ทราบนามสกุล) มีเป้าหมายที่ อ่างอิออม หมาเห่าฟ้า  ผาแงบลม   ถ้ำเม่น ถ้ำพัง และถ้ำเอวขัน ได้อะไรมามากมาย ทั้งความเหน็ดเหนื่อยและความประทับใจกับธรรมชาติ    เรายังจำภาพพ่อทองใน vdo ที่ยืนอยู่ที่หน้าผาที่ชื่อว่า "โหม่ลมเย็น" ท่านชี้มือบอกสถานที่สำคัญทั้งเบื้อง บนและเบื้องล่างให้เราทราบ ว่าเป็นที่แห่งใด
ดูวีดิทัศน์ที่ถ่ายไว้เมื่อ ๑๐ ปี ที่แล้ว(ด้านล่าง)


http://www.youtube.com/watch?v=0xIC40msJ30
                วันนั้นเราไปได้ไกลสุด ที่ถ้ำพัง ซึ่งเป็นห้าผาที่สูงชันมาก มีร่องรอยการมาปฏิบัติธรรมของพระธุดงค์ เห็นได้จากพระพุทธรูปขนาดและรูปแบบต่างๆ ที่หน้าผามีเฟิร์นใบมะขาม ปกคลุมเป็นม่านคลุมหน้าผา การเดินต้องคอยระมัดระวัง เพราะมีก้อนหินทรายร่วงหล่นลงมากองที่พื้น ระเกะระกะ ไม่ราบเรียบ หน้าผาแห่งนี้มีความยาวไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตร ความสูงมากกว่า ๑๐ เมตร
              ออกจากถ้ำพัง มีเป้าหมายที่ถ้ำเอวขัน ซึ่งต้องข้ามหุบหมูป่า ที่ชื่อว่า หลุบกกยางไป แต่พวกเราฝ่าไปได้ประมาณ ๑๐ เมตร ต้องล่าถอยกลับออกมา เพราะไปไม่ไหวจริงๆ ป่าหนาทึบมาก
              สิ่งที่จะเล่าให้ฟังวันนี้ เป็นเรื่องของ "ลานหมาเห่าฟ้า ผาแงบลม" รวมถึงลานหลังแปภูกระดึงน้อย(คนละที่กันกับหลังแปสวนสัตว์) ตาทองเล่าถึงที่มาของชื่อ"หมาเห่าฟ้า"ว่า เนื่องจากหมาเห่าฟ้าเป็นหน้าที่ตั้งอยู่ในที่สูง ก่อนถึงหมาเห่าฟ้าจะเป็นป่าค่อนข้างทึบ เมื่อหมาวิ่งฝ่าป่าออกมาก็จะพบกับลานหินกว้างซึ่งเป็นหลังคาของหน้าผา มองไฟข้างหน้าเห็นแต่ยอดไม้ กับป่าไม้ ไกลออกไปเป็นทิวป่า หมู่บ้านและท้องฟ้าไกลลิบออกไป เป็นเวิ้งที่กว้างใหญ่มาก เจ้าหมาจะเดินหน้าต่อไปก็ไม่ได้ ด้วยความตกใจหรือจะอะไรก็ไม่ทราบ(มันเป็นเรื่องของหมา) แต่สิ่งที่มันทำก็คือยกคอขึ้นแล้วก็เห่าหอนออกมา จึงได้ชื่อตามนั้น
             ส่วนผาแงบลม ก็เป็นชื่อของหน้าผาที่อยู่ถัดมาทางด้านทิศตะวันออก การเข้าไปถึงผานี้ต้องเดินมุดลงไปตามรอยแยกของข่องผาลงไปข้างล่าง ซึ่งตรงนั้นจะเป็นชะง่อนผา มีร่มครึ้ม และลมผัดผ่านอย่างเย็นสบาย จะนั้งพักผ่อนหรือนอนเล่นสบายๆก้ได้ ระวังอยู่อย่างเดียวเดี๋ยวลิงจะมาขโมยผ้าขาวม้า เพราะถัดออกไปจะเป็นหุบขนาดที่เป็นป่าทึบครึ้ม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หลุบลิง"
             ด้านบนของหน้าผานี้ จพเป็นหลังคาดินที่ทับถมอยู่บนลานหินกว้าง มีลักษณะเป็นหลังตัด มีต้นไม้เบญจพรรณขึ้นมาบ้าง ส่วนมากจะเป็นหญ้ากอ รากสั้นๆ ขึ้นเป็นกอเตี้ยๆเป็นกระจุกดูแปลกตาดีที่ตรงนี้จะเป็นตะพักหินตะปุ่มตะป่ำสวยงามมาก เหนือขึ้นไปมีอ่างหิน ที่ขังน้ำไว้ได้ตลอดฤดูฝน ซึ่งมีสาหร่ายขึ้นอยู่ตลอด พื้นตรงนี้จะขนานกับแนวหน้าผาที่สูงชัน ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมาก ไม่แพ้หลังแปที่สวนสัตว์
           หลายปีแล้วไม่ไม่ได้ไปเยี่ยม ลานหลังแปและผาแงบลม สักวันหนึ่ง ในเร็ววันนี้ จะหาโอกาสขึ้นไป เก็บภาพสวยๆหลายๆแง่มุมมาฝาก สวัสดีครับ ...ครูคำมี

ตามหาทุ่งดอกกระเจียวที่ภูเขาสวนกวาง

 

ทุ่งดอกกระเจียวที่ชัยภูมิ
 ถ้าพูดถึง ทุ่งดอกกระเจียว คงไม่มีที่ไหนโด่งดังเท่า ทุ่งดอกกระเจียวอำเภอเทพสถิตย์จังหวัดชัยภูมิ ที่จริงแล้วดอกกระเจียวที่นิยมนำมาปลุกเป็นไม้ประดับ หรือที่ลงทุนขับรถไปดูเป็นทุ่งๆ ที่ชัยภูมินั้น ชาวบ้านเขาเรียกกันหลายชื่อ เช่น ดอกบัวโคก กระเจียวปทุมมา หรือบัวสวรรค์ ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปใ นป่าเบญจพรรณ แถบภาคอีสาน แม้แต่ภูเขาสวนกวางที่เราจะพาท่านไปดู เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๕ เราเคยพบที่ป่าสาธาณะประโยชน์บ้านคำนางปุ่ม อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ขึ้นอยู่หนาแน่นพอสมควรแต่ในระยะหลังเราไม่ได้เข้าไปอีกด้วย่กตุผลบางประการ เสียดายที่ค้นหาภาพเหล่านั้นไม่พบ ในปีเดียวกันั่นเอง กระแสดอกกระเจียวมาแรงมาก เราไปพบชาวบ้านขุดลงมาจากภูเขาสวนกวาง มาวางขายที่ตลาดสด ไม่มากหรอกประมาณ ๑ คันรถเข็นน้ำ เราก็พยายามหาข้อมูลว่าได้มาจากที่ได ก็ได้คำตอบที่ไม่ชัดเจนนักว่า อยู่ที่บ๋าหนามแท่ง ปัจจุบันเรามีข้อมูลว่ามีอยู่ ๒ แห่ง คือ บริเวณบ๋าหนามแท่ง ใกล้กับ"โพ่นเม่น"
และบ๋าอะไรซักอย่างจำชื่อไม่ได้ แต่เราพอรู้ทาง และทีมงาน รสทป.เขาสวนกวาง ๕ คน ก็ออกเดินทางไตมล่าในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๒ ปีที่แล้วนี้เอง เรานำรถไปจอดไว้ที่หน้าผา ใกล้กับถ้ำเม่น เป็นช่วงปลายฝน ป่าเขียวงามมาก เราทั้ง ๕ คน ต้องเดิน ฝ่าพงหญ้าเพ็กที่ขึ้นหนาทึบ สไลด์ลงไปตามหุบ ซึ่งมีทั้งชัน และสโลป เป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษๆ(เศษเท่าไรไม่รู้) รู้แต่ว่าต้องผ่านตะพักที่ชันๆไม่น้อยกว่า ๓ แห่ง คิดในใจอยู่ขากลับคงลำบากแน่ๆ เกือบจะถอดใจซะแล้ว ในระหว่างทางก็เก็บภาพเป็นระยะๆ เพราะมีของแปลกๆให้ชมกันเยอะ ข้างล่างนี้ เป็นเห็ดที่สวยงาม(แต่กินไม่ได้) สีสดสวย บางเบา
เห็ดสวย
แต่เหนียวไม่เปราะ เกิดเกาะอยู่กับกิ่งไม้แห้ง อีกภาพเป็นต้นไม้ประเภทหัวใต้ดินก้านแข็ง(ไม่นุ่มเหมือนประเภทว่าน) ชาวบ้านเรียกต้นขาวก่ำหรือข้าวเหนียวดำ ที่เรียกว่าต้นข้าวก่ำก็เพราะว่า หากเรานำมาขยำกับน้ำแล้วนำไปหม่า(แช่) กับข้าวเหนียวขาวแล้ว สีจะเปลี่ยนเป็นม่วงจัดๆ และมีกลิ่นหอม แต่ยังไม่ได้ทดลอง มีโอกาสจะลองทำดู คงไม่เบื่อตายเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟัง เราโล่งใจเมื่อสมาชิกท่านหนึ่งบอกว่าถึงแล้วซึ่งเราก็พบกับบ๋าขนาดประมาณ ๑๐ ไร่ วางตัวอยู่ในป่าทึบรอบทั้ง ๔ ด้าน แต่ไม่พบดอกกระเจียวสีชมพูสดเต็มทุ่ง มีแต่ต้นไม่มีดอก เลยเดินสำรวจก้พบอยู่บ้างแต่ไม่มากพบ
ต้นข้าวก่ำ
 เป็นกลุ่มๆละ ๔-๕ ดอก และพบว่าส่วนใหญ่แก่ตายไปแล้ว เรามาผิดเวลา ทุ่งแห่งนี้น่าจะสวยงามมากหากเรามาเยือนในช่วงเดือนสิงหาคมต้นๆ จึงเป็นความตั้งใจของเราว่า หลังจากนำเสนอเรื่องนี้แล้ว เราจะเดินเท้าตั้งแต่วัดตาดฟ้าไปให้ถึงแหล่ง ดอกกระเจียวแห่งนั้น ในช่วงเวลาอย่างช้า ต้นสิงหาคม ๕๓ แน่นอน ภาพที่เห็นข้างล่าง เป็นภาพดอกกระเจียว บางส่วนและดอกไม้สวยๆ ช่วงต้นหนาวที่กำลังอวดตัวอย่างสวยงาม....สวัสดีครับ
--------------------------------------
ครูคำมี
ครีคำมู







สถานที่บนภูเขาสวนกวางที่ยังไม่ถูกเปิดเผย

หลายปีที่ข้าพเจ้าท่องเที่ยวไปบนภูเขาสวนกวาง ยังไม่เคยพบเห็นภูมิลักษณ์ทางธรรมชาติประเภทหน้าผาที่โดดเด่นเหมือน"ถำผาแดง"แห่งนี้ แม้ธรรมชาติส่วนหนึ่งของหน้าผาจะถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยพระคุณเจ้าที่ดูแลวัดนี้อยู่ แต่ส่วนที่เหลือก็มีมากพอที่จะให้เราได้"ทึ่ง"หรือ"อัศจรรย์ใจ"ได้มากที่เดียว ที่ตั้งของ"ถ้ำผาแดง"แห่งนี้ อยู่ที่ภูเขาสวนกวาง ฝั่งบ้านดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เข้าใจว่าจะต่อเชื่อมกับวัดซำขามถ้ำยาว ที่มีภูมิลักษณ์ที่ใกล้เคียงกันเราคงไม่สนเทห์และแปลกใจใด ๆอีกแล้ว ที่ชุมชนแห่งนี้ หรือกลุ่มชนใดในอดีตที่ตั้งชื่อหมู่บ้านของเขาว่า "ดงเย็น"เพราะเราพิสูจน์แล้วว่า เป็นเช่นนั้นจริง เรากับตากล้อง(คุณแจ๊ก) ได้แอบเดินลึกเข้าไปตามถนนดินที่พระคุณเจ้าตัดเชื่อมโยงไปยังที่กุฏิแต่ละหลังซึ่งอยู่ไกลกันพอควร ความเย็นซึ่งมิใช่มาจากกระแสลม สัมผัสผิวกายพวกเรา รู้สึกถึงความฉำเย็น และสดชื่น จึงอยากเชิญชวนผู้รักธรรมชาติและความสงบและผู้แสวงหาความอัศจรรย์ใจได้ไปสัมผัส นอกจากจะได้ทำบุญกับหลวงพ่อ(ไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร) ยังได้ความสงบสุขตามมา การเดินทางไปยังยังวัด"ถ้ำผาแดง" ไปได้สามเส้นทาง ทางที่สะดวกที่สุดสำหรับท่านที่อยู่ฝั่งถนนมิตรภาพ แนะนำให้ใช้เส้นทาง ตลาดเขาสวนกวาง-บ้านดงเย็น ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ลาดยางตลอด เป็นเส้นทางเปิดใหม่ รูปลักษณ์ของถนนและทิงทัศน์โดยรอบสวยงามมาก
เส้นที่สอง สำหรับท่านที่อยู่ฝั่งน้ำพอง(หนองกุง) บ้านงูจงอางพระธาตุขามแก่น ใช้เส้นทางไปพังทุย ผ่านบ้านนาขาม ถนนฝุ่นประมาณ ๔ กิโลเมตร เส้นที่ สาม สำหรับท่านที่อยู่กระนวน ใช้เส้นทางบ้านคำบอน บ้านดคกใหญ่ บ้านหัวนาคำ ก็สะดวกไม่แพ้กัน เขาสวนกวาง unseen ไม่ใช่มีเพียงเท่านี้ ภายใต้ผืนหญ้าและแมกไม้ที่ปกคลุมพื้นที่เกือบ สองหมื่นไร่ ยังรอการปิดเผยออกมาทีละน้อยๆ อย่างทุนุถนอมและเห็นคุณค่า เราพบเห็นด้วยตาและชื่นชมด้วยใจโดยไม่เข้าไปทำลายทรัพยากรเหล่านั้น จะเป็นสิ่งที่ตระหนักแต่ไหนแต่ใดมา เราจะแสวงหาและนำมาเผยแพร่ให้ท่านทั้งหลายได้พบเห็นและชื่นชมกันอีกในดอกาสข้างหน้า พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพหน้าผา และภาพถนน ถ่ายโดยคุณสุรไกร หานะกุล สพท.ขอนแก่น เขต ๔